top of page

การตั้งราคายังไง ให้ไม่ตัดราคากันเอง วิเคราะห์ราคาขาย

อัปเดตเมื่อ 24 พ.ค. 2564



เป็นเรื่องปกติของทุกคนที่อยากจะเริ่มต้นทำการค้าขาย สิ่งสำคัญที่เราต้องรู้ก็คือการตั้งราคาขายเพราะตามตำราการตลาดสมัยใหม่จะมีทั้งการตั้งราคาเพื่อสร้างแรงดึงดูดให้กับลูกค้าหรือการตั้งราคาอย่างไรให้เราไม่ขาดทุนมากเกินไป และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญก็คือราคาที่เราตั้งมานั้นสามารถแข่งขันกับคู่แข่งหรือเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับมาตรฐานราคากลางตลาดหรือเปล่า

โดยทฤษฎีการตั้งราคาเราใช้สามหลักด้วยกัน

หลักคิดที่หนึ่งหลักคิดทางการบัญชี

จากจุดนี้สิ่งแรกที่เราต้องทำความเข้าใจก็คือเราต้องรู้ว่าต้นทุนของสินค้าที่เราซื้อมานั้นมีราคาเท่าไหร่หรือกี่บาทและที่สำคัญค่าใช้จ่ายแฝงสำหรับการขายสินค้ามีอะไรบ้าง

เช่น ซื้อของมามีต้นทุน 100 บาท อยากได้ กำไร 20 บาทหรือ 20%

ราคาต้นทุนสินค้า ราคาขนส่ง ราคาค่าแรงในการบรรจุกล่องหีบห่อ = 100 บาท

เสร็จแล้วเราจึงเอาเปอร์เซ็นต์ของกำไรที่เราต้องการเอามาคิดตามรูป


แต่ถ้าเราใช้วิธีคิดแบบนี้ ยกตัวอย่างเช่นราคาต้นทุนอยู่ที่ 100 บาทเราอยากได้กำไร 20% หรือ 20 บาท


หากดู จากสูตรที่เราใช้การตั้งราคาเมื่อเรายอมลดราคาให้ลูกค้า 20% จะพบว่าเราขาดทุนนั่นเอง ซึ่งในที่นี้เราขาดทุนไป 4 บาท

120 - 20% = 120 - 24

= 96


หลักคิดที่สองตั้งราคาจากราคาขาย


หากว่าเราเปลี่ยนวิธีคิดเป็นกำไรจากราคาขาย

ตามสูตรตัวนี้



ในตัวอย่างเดียวกัน ต้นทุนสินค้าคือ 100 บาทกำไรที่อยากได้คือ 20% หากใช้หลักการนี้ชิบต่อให้เราลดราคา 20% ให้ลูกค้าเราก็จะไม่ขาดทุนเลยนั่นเอง * ลด20% ก็ยังคืนทุนอีก 100 บาท.



บ่อยครั้งแอดเองก็พลาดใช้วิธีแรกในการตั้งราคาซึ่งพอเราคิดในใจว่าอยากจะลดแบบเท่าทุน ก็เลยลดราคาตามกำไรกลายเป็นว่าเราขาดทุนไปซะยังงั้น!!



ตั้งราคาตามกลไกตลาด


จากจุดนี้มีคำถามที่น่าสนใจคือแล้วเราเองจะรู้ได้อย่างไรว่าเราต้องตั้งราคาเท่าไหร่หรือเริ่มต้นที่ราคาเท่าไหร่ โปรแกรมShopsecret มีตัวช่วยในฟังชั่นที่เรียกว่าการวิเคราะห์ราคา หากเราเลือกได้แล้วว่าสินค้าหมวดไหนที่เรากำลังสนใจอยากจะดู หรือนำเข้ามาขายเราสามารถเข้าไปที่ tab หน้า “วิเคราะห์ราคา” จากการเลือกหมวดหมู่สินค้าย่อยทั้ง 24 หมวด









จากกราฟตัวนี้เองมันจะบอกเลยว่าในกลุ่มสินค้าย่อยนี้ราคาเฉลี่ยตั้งอยู่ที่เท่าไหร่ราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดไม่ลดแล้วอยู่ที่เท่าไหร่



ตรงจุดนี้สิ่งถัดไปที่เราสามารถทำได้ก็คือเราสามารถมองย้อนกลับไปได้ว่าแล้วต้นทุนสินค้าของเราคือเท่าไหร่ หลังจากนั้นลองเอาต้นทุนของเราตั้งหารด้วยราคากลางสินค้า ×100 เราก็จะได้เปอร์เซ็นต์กำไรที่น่าจะได้จากการลงทุนขายสินค้าออนไลน์ในครั้งนี้.





และอีกหนึ่งจุดที่พิเศษคือเราเองก็สามารถประเมินจากKPIได้เช่นกันว่าถ้าเราลงขายในกลุ่มหมวดหมู่ย่อยแล้วเราควรจะต้องขายได้เท่าไหร่ต่อเดือน งั้นแปลว่าเมื่อเอากำไรชุดแรกมาคูณกับจำนวนที่คาดว่าจะขายได้ต่อเดือนเราก็จะรู้แล้วว่ารายได้ของเราจะเป็นเท่าไหร่





KPI (จำนวนที่ขายได้เฉลี่ย) * ราคาเฉลี่ย = เป้าหมายรายได้ที่จะขายได้ต่อเดือน


  • จำนวนขายได้ต่อเดือนคือค่าเฉลี่ยจากจุดนี้เราสามารถใช้มาเป็นKPIสำหรับร้านหรือสำหรับธุรกิจของเราได้เลย

!! เข้าใจร่วมกัน 1 เรื่อง eCommerce ไม่ว่า Shopee , Lazada คือ Market place ที่รวบรวมลูกค้าที่มาหาสิ้นค้าราคาพิเศษ พร้อมส่วนลดกระแทกใจ สิ่งที่เราต้องเข้าคือกฎของราคาตลาด ถ้าเราตั้งแพงกว่าตลาด สินค้าเราต้องมีจุดเด่นและคุณค่าที่ชัดเจนจยคนยอมจ่ายแพงกว่าราคาตลาด ถ้าไม่ชัดเราหน้าตั้งราคาโดดจากราคาตลาด มิฉะนั้นร้านสินค้าเราก็จะกลายเป็นแต่ไม่ประดับให้ Shopeeและ Lazada

การจะเข้าถึงส่วนวิเคราะห์ราคาทำได้โดยเลือกเข้าไปที่ส่วนเมนู “ ค้นหาสินค้า” หลังจากนั้นเลือกหมวดหมู่ที่เราสนใจ หากท่านสมาชิกที่ยังไม่ได้ซื้อ package สามารถเข้าไปดูราคาได้ที่หน้า "ราคา"


จากในตัวอย่างจะเห็นว่าถ้าเราตั้งใจจะหยิบสินค้าคือ .... แล้วอยากจะมี รายได้ 100,000 บาทต่อเดือน

จากหมวด


สมมุติราคาสินค้าในกลุ่มห้องน้ำ ขายเฉลี่ยน 65 บาทต่อชิ้น


แต่ถ้าเทียบกับ KPI เฉลี่ยคือ 1,191 ชิ้นต่อเดือน ดูเหมือนจะไม่ถึงเป้า เพราะร้านโดยทั่วไปขายได้เท่านี้เอง แต่อย่าลืมเราขายสินค้าได้หลายชิ้น หลายกลุ่ม นี่เป็นแค่จุดเริ่มต้น ขั้นถัดไปคือการลงมือเลือกกรองหาตัวสินค้าชิ้นๆถัดไปนั่นเอง


เท่านี้โอกาสในการสำเร็จจากการขายของออนไลน์ก็อยู่ในมือเราแล้ว ไม่ต้องพึ่งดวงหรือไสยศาสตร์ใดๆ (สาธุฯ)

ดู 634 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page